การวิเคราะห์ระบบ

บริษัท J.S.R ผลไม้กระป๋องจำกัด


ประวัติ

บริษัท J.S.R ผลไม้กระป๋อง จำกัด ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2554 ตั้งอยู่ที่ จ. ประจวบคีรีขันธ์ โดยเป็นการร่วมลงทุนกันระหว่างเพื่อน ซึ่งมีหุ้นส่วนทั้งหมด 3 คน โดยมีความมุ่งมั่นที่จะผลิตผลไม้กระป๋องและแปรรูปผลไม้ตามฤดูการ เช่น สับปะรดและมะม่วงอบแห้ง ที่มีคุณภาพสูง เพื่อความพึงพอใจและตรงตามความต้องการของผู้บริโภค และยังเป็นการส่งเสริมการเพิ่มมูลค่าของผลไม้ในท้องถิ่นของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์


วัตถุประสงค์ของบริษัท
  1. ผลิตสินค้าที่มีคุณภาพและตรงต่อความต้องการของลูกค้า
  2. ผลิตสินค้าที่ได้มาตรฐานและได้รับการรับรองคุณภาพ
  3. เพื่อเพิ่มผลกำไรของบริษัทให้ได้มากที่สุด
  4. เพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า
  5. เพื่อช่วยส่งเสริมการเพิ่มมูลค่าของท้องถิ่น


เป้าหมายของบริษัท

  1. เพิ่มผลกำไรให้ได้มากที่สุด
  2. ผลิตสินค้าที่ได้มาตรฐานและได้รับการรับรองคุณภาพ
  3. เพื่อช่วยส่งเสริมการเพิ่มมูลค่าของท้องถิ่น


นโยบายบริษัท
  1. นำเสนอสินค้าที่มีคุณภาพต่อผู้บริโภค
  2. ให้สมาชิกซึ่งเป็นหุ้นส่วนทางธุรกิจได้รับผลตอบแทนที่คุ้มค่า และยุติธรรม
  3. ดูแลพนักงานทุกคนด้วยความเอาใจใส่เป็นครอบครัวเดียวกัน
  4. ตอบแทนสังคมไทยด้วยความสำนึกรับผิดชอบ
  5. ขยายธุรกิจระบบเครือข่ายไปต่างประเทศ
  6. เพื่อกระจายรายได้ให้กับเกษตรกรในท้องถิ่น

ผลิตภัณฑ์

- ผลิตภัณฑ์ผลไม้กระป๋อง
- ผลิตภัณฑ์ผลไม้แปรรูปอบแห้ง


แผนผังขององค์กร


(คลิกที่รูปเพื่อดูรูปใหญ่) 



หน้าที่และปัญหาของแต่ละฝ่าย
ในลักษณะการทำงานเดิมของบริษัทที่ไม่มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้งาน


ประธานบริษัท

       หน้าที่ของประธานบริษัท

                ดูแลความเรียบร้อย คอยให้คำปรึกษา ดูแลคุณภาพสินค้าของบริษัท และคอยให้แก้ไขข้อบกพร่องของสินค้า รวมไปถึงดูแลพนักงานในบริษัทของตนเอง นั่นคือประธานจะคอยดูแลทุกสิ่งในบริษัทของตนเพื่อการบริหารงานที่ดี และผลิตสินค้ามีคุณภาพออกสู่มือผู้บริโภคปัญหาของประธานบริษัท

รองประธานบริษัท
       หน้าที่ของรองประธานบริษัท

                 คอยรวบรวมข้อมูลสำคัญต่าง ๆ ภายในบริษัทเพื่อนำเสนอต่อประธาน กลั่นกรองข้อมูลหรือข่าวสารก่อนนำเสนอประธาน ร่วมปรึกษากับประธานในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ในบริษัท


ฝ่ายบุคคล

       หน้าที่ของฝ่ายบุคคล

                มีหน้าที่เลือกสรรพนักงานที่มีคุณภาพเข้ามาทำงานในบริษัท รวมไปถึงการดูแลเกี่ยวกับพนักงานในบริษัท ไม่ว่าจะเป็นการจัดเวลาการทำงาน การลางาน หยุดงาน รวมไปถึงการดูแลเกี่ยวกับกฎหมายแรงงานและ สวัสดิการของพนักงานในบริษัท เช่น ประกันอุบัติเหตุ หรือประกันสุขภาพต่าง ๆ ของพนักงาน คอยเก็บรวบรวมดูแลเอกสารต่าง ๆ เช่นแฟ้มประวัติพนักงาน และคอยสรุปเวลาการปฏิบัติงานของพนักงานเพื่อส่งให้กับฝ่ายบัญชีเพื่อทำการคิดค่าแรงพนักงานต่อไป

       ปัญหาของฝ่ายบุคคล
  1. ปัญหาในการสร้างฟอร์มการรับสมัครงานอาจทำได้ยาก และเปลืองเวลา
  2. เปลืองเนื้อที่ในการเก็บเอกสารเนื่องจากมีเอกสารของพนักงานเป็นจำนวนมาก
  3. การค้นหา และสืบประวัติของพนักงานทำได้ยากเพราะมีแฟ้มประวัติเป็นจำนวนมาก
  4. จากการที่เอกสารมีมาก เอกสารอาจเกิดการสุญหาย หรือตกหล่น เพราะมีการดูแลไม่ทั่วถึง
  5. เกิดความซ้ำซ้อนในการเก็บเอกสาร
  6. การสรุปเวลาการทำงานของพนักงาน และการบันทึกข้อมูลต่าง ๆ ต้องใช้เวลาและอาจทำให้เกิด ข้อผิดพลาดได้ง่าย

ฝ่ายบัญชีและการเงิน

       หน้าที่ของฝ่ายบัญชีและการเงิน

       เจ้าหน้าที่บัญชี ทำหน้าที่บันทึกรายรับรายจ่ายของบริษัทในแต่ละวัน หรือจัดทำสมุดรายวันและรายวันเฉพาะแล้วนำข้อมูลที่บันทึกในสมุดรายวันทั่วไปและสมุดรายวันเฉพาะมาผ่านรายการไปยังบัญชีแยกประเภทที่เกี่ยวข้องเมื่อสิ้นสุดรอบระยะเวลาที่บัญชีที่กำหนดไว้ เช่น 1 เดือน 3เดือน 6เดือน หรือ 1ปี กิจการจะนำเอายอดคงเหลือในบัญชีแยกประเภททั่วไปแต่ละบัญชีมาจัดเรียงลำดับตามรหัสบัญชีที่ระบุเอาไว้ในผังบัญชี จากนั้นนำเอาตัวเลขในงบทดลองมาจัดทำงบกำไร ขาดทุน งบดุล งบกระแสเงินสด และรายงานเพื่อการบริหาร ในการตัดสินใจในการบริหารงานของธุรกิจต่อไปรวมไปถึงดูแลคำนวณเงินเดือนจากข้อมูลที่ฝ่ายบุคคลจัดส่งมาให้ ให้กับพนักงาน และทำสลิปเงินเดือน

       เจ้าหน้าที่การเงิน ปฏิบัติงานทางด้านการเงิน รับผิดชอบเงินสด ทำการบันทึกการเงินเฉพาะเงินสด ซึ่งเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานธุรกิจ รับเงินสด ตรวจสอบจำนวนเงินสดกับใบแสดงการขายสินค้าหรือใบรับเงินสดทอนเงินและรับเช็ค อ่านยอดเงินในบัญชีเงินสด และตรวจสอบเงินที่มีอยู่กับบัญชีเงินสด เตรียมการนำเงินไปฝาก – ถอนธนาคารตรวจสอบเงินสดที่มีอยู่กับบัญชีเงินสดเป็นครั้งคราว

       ปัญหาของฝ่ายบัญชีและการเงิน
  1. การตรวจสอบข้อผิดพลาดต่าง ๆ ทำได้ล่าช้า
  2. การบันทึกรายการของงานบัญชีมีหลายขั้นตอน หากบันทึกแต่เพียงสมุดแล้วหายอาจทำให้ข้อมูลหายทั้งหมด
  3. และจะทำให้เสียเวลาในการค้นหาทำให้ข้อมูลซึ่งอาจเกี่ยวกับกำไร-ขาดทุนของบริษัทสูญหายไปได้
  4. การปิดงบประมาณประจำปีอาจเกิดความผิดพลาดเนื่องจากการเก็บรวบรวมข้อมูลเกิดข้อผิดพลาดทำให้ข้อมูลบางส่วนอาจหายไป
  5. การจัดเก็บเอกสารไม่เป็นระเบียบเนื่องจากเอกสารมีจำนวนมาก
  6. เปลืองพื้นที่ในการจัดเก็บแฟ้มเอกสาร เพราะเอกสารทุกชนิดจะจัดเก็บภายในแฟ้ม
  7. ค้นหาเอกสารได้ยาก เนื่องจากเอกสารมีจำนวนมากและยังจัดเก็บไม่เป็นระบบ
  8. เนื่องจากเอกสารมีจำนวนมาก และเอกสารส่วนใหญ่เป็นเอกสารที่เกี่ยวกับการเงิน หากสูญหายอาจทำให้บริษัทได้รับความเสียหายอย่างมาก
  9. รายงานทางการเงินที่ทำด้วยมือจะทำให้เข้าใจได้ยาก เนื่องจากลายมือหรือรูปแบบของรายงานจะมีความหลากหลายและมีความแตกต่างกันไป

ฝ่ายการตลาด

       หน้าที่ฝ่ายการตลาด

       ตรวจสอบความต้องการของตลาดเกี่ยวกับสินค้าของตนเองและกำหนดราคาในระดับผู้ผลิต และระดับผู้ค้าปลีกดูแลการโฆษณาหรือประชาสัมพันธ์สินค้าของบริษัท โดยใช้สื่อตรง ได้แก่ วารสาร วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ แผ่นป้ายโฆษณา และสื่ออื่น ๆ ตลอดทั้งการให้โควตาในการขาย นโยบายการขาย แผนการขาย และการควบคุมการขาย และติดต่อกับลูกค้าเกี่ยวกับการสั่งซื้อสินค้าจากลูกค้า

       ปัญหาของฝ่ายการตลาด
  1. ฝ่ายการตลาดมีเอกสารของลูกค้าและเอกสารสำคัญเกี่ยวกับสินค้าเป็นจำนวนมาก ทำให้เปลืองเนื้อที่ในการจัดเก็บ 
  2. ส่วนการจัดทำสื่อเพื่อโฆษณาสินค้า ต่างๆ ก็ทำได้ลำบาก
  3. สืบค้นข้อมูลได้ยากเนื่องจากขอมูลถูกจัดเก็บในรูปแบบเอกสาร ทำให้ยากต่อการสืบค้น
  4. ฝ่ายการตลาดอาจต้องมีการสำรวจความต้องการของลูกค้า ซึ่งในการสำรวจนั้นอาจต้องใช้แบบฟอร์มหรือเอกสารในการสำรวจ ซึ่งอาจทำได้ยาก
  5. ปัญหาในการสั่งซื้อสินค้าจากลูกค้าการติดต่อกันได้ลำบาก


ฝ่ายจัดซื้อ

       หน้าที่ฝ่ายจัดซื้อ

       มีหน้าที่จัดซื้อวัตถุดิบ ชิ้นส่วนหรือวัสดุต่างๆที่หน่วยงานต้องการให้ตรงกับความต้องการทั้งในด้านปริมาณ คุณภาพ และเวลา โดยสามารถค้นหาแหล่งวัตถุดิบที่ใช้ต้นทุนได้น้อยที่สุด

       ปัญหาฝ่ายจัดซื้อ

  1. ในขบวนการสั่งซื้อมีความล่าช้าเนื่องจากต้องรอเอกสารสั่งซื้อจากหลายๆ แผนก เพราะเอกสารเหล่านั้นต้องใช้เวลาในการเดินทาง
  2. หากต้องการวัตถุดิบแบบเร่งด่วนอาจทำได้ยาก และส่งผลเสียต่อระบบการผลิต
  3. มีปัญหาในการจัดเก็บ การค้นหา และการจัดการเกี่ยวกับเอกสาร 


ฝ่ายผลิต

       หน้าที่ฝ่ายผลิต

       มีหน้าที่ในการคัดเลือกวัตถุดิบและนำวัตถุดิบที่ผ่านการคัดเลือกเข้าสู่กระบวนการผลิต และ ผ่านการตรวจสอบคุณภาพก่อนที่จะมีการบรรจุภัณฑ์ หรือส่งเข้าคลังสินค้าเพื่อทำการจำหน่ายให้กับลูกค้าต่อไป

       ปัญหาของฝ่ายผลิต

       1. อาจผลิตสินค้าได้ไม่ตรงตามใจของลูกค้า
       2. เกิดความล่าช้าในการผลิต ผลิตสินค้าล่าช้า
       3. ผลิตสินค้าไม่ได้คุณภาพ


ฝ่ายซ่อมบำรุง

       หน้าที่ฝ่ายผลิต

       คอยดูแลบำรุง รักษา วัสดุ อุปกรณ์ และเครื่องจักรภายในโรงงานให้มีสภาพที่สามารถพร้อมใช้งานได้เสมอ และคอยให้คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้เครื่องจักร และวัสดุอุปกรณ์ แก่พนักงานที่เกี่ยวข้อง

       ปัญหาของฝ่ายผลิต

       1. ค้นหาประวัติ หรือการใช้งานของเครื่องจักรและวัสดุอุปกรณ์เหล่านั้นได้ยาก
       2. มีปัญหาในการซ่อมแซม อาจซ่อมไม่ทันกับการใช้งาน
       3. อุปกรณ์ วัสดุในการซ่อมมีไม่ครบ ทำให้ซ่อมได้ล่าช้า


ฝ่ายคลังสินค้า

       หน้าที่ฝ่ายคลังสินค้า

       รับสินค้าที่บรรจุภัณฑ์เรียบร้อยแล้วมาจากฝ่ายผลิต และทำการดูแลรักษาสินค้าให้มีสภาพดีอยู่เสมอ คอยตรวจสอบวันรายการต่าง ๆ เกี่ยวกับสินค้า เช่น วันที่ผลิต วันหมดอายุ สินค้าคงคลัง หรือยอดสั่งซื้อจาก แผนกการตลาด ซึ่งฝ่ายคลังสินค้าจำเป็นจะต้องคอยตรวจสอบสินค้าอยู่เสมอ ๆ

       ปัญหาของฝ่ายคลังสินค้า
  1. ปัญหาในการจัดเก็บเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวกับตัวสินค้า
  2. ปัญหาในการเก็บรักษาเอกสารเกี่ยวกับการสั่งสินค้า
  3. ปัญหาในการเก็บเอกสารสินค้าเข้า สินค้าออก
  4. เนื่องจากเอกสารข้อมูลสินค้าที่มีจำนวนมาก จึงอาจทำให้การจัดเก็บเอกสารไม่เป็นระเบียบ
  5. เปลืองพื้นที่ในการจัดเก็บแฟ้มเอกสาร เพราะเอกสารทุกชนิดจะจัดเก็บภายในแฟ้ม
  6. ค้นหาเอกสารข้อมูลสินค้าได้ยาก เนื่องจากเอกสารมีจำนวนมากและยังจัดเก็บไม่เป็นระบบ
  7. เกิดความผิดพลาดในการเช็คสต็อก 
  8. ข้อมูลสินค้าสูญหายทำให้อาจเกิดการผิดพลาดในการคาดคะเนเกี่ยวกับปริมาณสินค้าซึ่งอาจส่งผลไปถึงการขาดเกินของสินค้าเมื่อลูกค้าต้องการสินค้า

ฝ่ายจัดส่งสินค้า

       หน้าที่ฝ่ายจัดส่งสินค้า

       มีหน้าที่รับสินค้าจากคลังสินค้า และตรวจสอบสินค้าที่รับมาจากคลังสินค้าให้ตรงกับข้อมูลตามใบสั่งซื้อสินค้าของลูกค้า คือตรวจสอบความครบถ้วน ความเรียบร้อยต่าง ๆ เกี่ยวกับตัวผลิตภัณฑ์ และจัดส่งสินค้าให้ถึงมือของลูกค้าด้วยความสมบูรณ์ และมีหน้าที่รับสินค้าจากลูกค้ากลับสู่บริษัทหากลูกค้าต้องการคืนสินค้า

       ปัญหาของฝ่ายจัดส่งสินค้า
  1. มีปัญหาในการจัดส่งเพราะหากใบสั่งซื้อหาย ก็ไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าลูกค้าต้องการสินค้าอะไรบ้าง
  2. เนื่องจากเอกสารมีจำนวนมากอาจทำให้มีปัญหาในการจัดเก็บ การค้นหาและการดูแล
  3. ลูกค้าอาจไม่พอใจ หากฝ่ายจัดส่งสินค้าทำข้อมูลสูญหาย
  4. ระยะเวลาในการจัดส่งสินค้าให้ลูกค้าอาจใช้เวลานานเนื่องจากต้องมีการค้นหาข้อมูลลูกค้าก่อน
  5. ลูกค้ามีที่อยู่หลายที่ทำให้ไม่สามารถทราบได้ว่าจะจัดส่งสินค้าให้ที่ใดก่อนที่ใดหลัง
ปัญหาทั้งหมดและระบบแก้ไขปัญหา
  1. การผลิตสินค้าไม่ตรงตามความพอใจของลูกค้า
  2. สินค้าไม่ได้คุณภาพ จึงทำให้ลูกค้ายกเลิกการสั่งซื้อ หรือคืนสินค้า
  3. ฝ่ายบุคคลทำข้อมูลหรือแฟ้มประวัติพนักงานหาย ทำให้พนักงานอาจขาดโอกาสหรือสวัสดิการ
  4. ฝ่ายบุคคลไม่มีพื้นที่ในการจัดเก็บเอกสาร
  5. การติดต่อประสานงานกกับทุกแผนกมีความล่าช้า
  6. ฝ่ายการตลาดทำใบสั่งซื้อสินค้าหาย ทำให้ข้อมูลการสั่งซื้อหายอาจทำให้ลูกค้าไม่พอใจ
  7. ฝ่ายการตลาดทำเอกสารข้อมูลขอลูกค้าสูญหาย
  8. ฝ่ายการตลาดไม่แจ้งยอดต่อฝ่ายบัญชีและการเงินทำให้ฝ่ายบัญชีไม่รู้ข้อมูลการสั่งซื้อ จึงตรวจสอบการจ่ายเงินจากลูกค้าได้ยาก
  9. ฝ่ายบัญชีจะไม่ทราบข้อมูลการสั่งซื้อ หรือข้อมูลการขายสินค้าเลยหากฝ่ายการตลาดไม่ทำรายงานหรือสรุปผลและแจ้งให้ทราบ
  10. ฝ่ายการตลาดไม่ได้ส่งยอดการสั่งซื้อและการสั่งจองในบางกรณีของลูกค้าให้ฝ่ายคลังสินค้าทราบ ทำให้ฝ่ายคลังสินค้าไม่ทราบว่าจะต้องมีการสั่งซื้อสินค้ามาเพิ่มหรือไม่ เพื่อให้เพียงพอสำหรับการขาย
  11. ฝ่ายการตลาดทำเอกสารการสั่งซื้อสินค้าของลูกค้าหายจะทำให้ฝ่ายจัดส่งสินค้าไม่ทราบว่าจะส่งสินค้าให้กับลูกค้าไม่ได้ ไม่รู้สถานที่จัดส่งสินค้า เวลาในการนัดรับสินค้าไม่ตรงตามที่ระบุ
  12. ฝ่ายคลังสินค้าไม่ได้แจ้งยอดการคลังสินค้าให้ฝ่ายบัญชีทราบ ฝ่ายบัญชีก็ไม่สามารถทำงบการเงินได้ เพราะจะต้องทราบยอดสินค้าคงเหลือของแต่ละงวด
  13. ฝ่ายจัดส่งสินค้าส่งสินค้าไม่ถึงมือลูกค้าหรือไม่ส่งสินค้าให้ลูกค้าแล้วไม่แจ้งให้ฝ่ายบัญชีทราบทำให้ฝ่ายบัญชีอาจทำให้ฝ่ายบัญชีทำงานผิดพลาดในการรับชำระเงิน
  14. ฝ่ายคลังสินค้าไม่ทราบยอดสินค้า ว่ามีพอสำหรับการจัดส่งสินค้าหรือไม่ ฝ่ายจัดส่งสินค้าก็อาจจะไม่มีสินค้าไปจัดส่งให้กับลูกค้า
  15. ฝ่ายผลิตสินค้าไม่รายงานผลการตรวจสอบคุณภาพของสินค้าให้กับฝ่ายการตลาดทำให้ ฝายการตลาดไม่สามารถให้ข้อมูลที่มั่นใจให้กับลูกค้าได้ในเรื่องคุณภาพของสินค้า
  16. ฝ่ายผลิตสินค้าต้องส่งรายงาน และจำนวนการผลิตในแต่ละวันให้กับแผนกสินค้า แต่หากรายงานนั้นไม่ถึงฝ่ายคลังสินค้า อาจทำให้เกิดปัญหาในการจัดเก็บสินค้า
  17. ฝ่ายซ่อมบำรุง อุปกรณ์เครื่องมือหมดต้องไปสั่งซื้อที่ฝ่ายจัดซื้อ แผนกจัดซื้ออุปกรณ์บางชิ้นไม่สามารถหาซื้อได้ และระยะเวลาในการสั่งซื้ออุปกรณ์นั้นๆ กินเวลาพอสมควร
  18. ฝ่ายซ่อมบำรุงเข้าไปดำเนินการซ่อมบำรุง ฝ่ายผลิตก็จะไม่มีเครื่องมือผลิต จึงทำให้ยอมในการผลิตสินค้านั้นลดน้อยลงทำให้ไม่ได้ตามเป้าที่กำหนด ส่งผลให้การผลิตนั้นไม่เสร็จตรงตามระยะเวลาที่ต้องส่งสินค้าให้กับลูกค้า
  19. ฝ่ายผลิตไม่แจ้งความต้องการวัตถุดิบล่วงหน้า หรือสถานะของวัตถุดิบทำให้ฝายจัดซื้อไม่รู้สถานะของวัตถุดิบซึ่งอาจทำให้วัตถุดิบในการผลิตอาจมีมากหรือน้อยเกินไป ซึ่งถ้ามีมากเกินความต้องการอาจทำให้วัตถุดิบเน่าเสียได้ แต่หากมีน้อยเกินไปจะทำให้การผลิตเกิดการชะงัก
  20. เอกสารในแต่ละฝ่ายมีจำนวนมาก ทำให้การจัดเก็บไม่เป็นระเบียบ
  21. เปลืองพื้นที่ในการจัดเก็บแฟ้มเอกสาร เพราะเอกสารทุกชนิดจะจัดเก็บภายในแฟ้ม
  22. ค้นหาเอกสารได้ยาก เนื่องจากเอกสารมีเยอะและจัดเก็บไว้หลายที่
  23. ข้อมูลมีการสูญหาย เพราะไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าเอกสารที่ต้องการอยู่ตรงไหน เนื่องจากการเก็บเอกสารยังไม่เป็นระบบ อาจทำให้บริษัทได้รับความเสียหาย
  24. ข้อมูลมีความซ้ำซ้อน ตัวอย่างเช่นจากลูกค้า 1 ท่านมาซื้อสินค้าหลายครั้ง แต่พนักงานขายก็เก็บข้อมูลทุกครั้งทำให้มีเอกสารซ้ำซ้อน
  25. การตรวจสอบเกี่ยวกับข้อมูลทางการเงินทำได้ช้า ไม่สะดวกรวดเร็ว
  26. ในการเช็คสต็อกอาจเกิดความผิดพลาดขึ้น เนื่องจากสินค้าจัดเก็บอยู่หลายที่ทำให้อาจลืมเช็คได้
  27. ข้อมูลสินค้าสูญหายทำให้จำนวนสินค้าภายในคลังสินค้าอาจไม่พอหรือว่ามีจำนวนสินค้ามากเกินไป เนื่องจากไม่สามารถเช็คได้ว่าในคลังสินค้ามีจำนวนสินค้าอยู่เท่าไร
  28. ระยะเวลาในการจัดส่งสินค้าให้ลูกค้าอาจใช้เวลานานเนื่องจากต้องมีการค้นหาข้อมูลลูกค้าก่อนซึ่งอาจทำให้ลูกค้าไม่พอใจ
  29. การติดต่อสื่อสารกันระหว่างฝ่ายทุกฝ่ายเกิดความล่าช้าเนื่องจากไม่มีข้อมูลที่เป็นส่วนกลางที่สามารถเข้าใช้ได้ทุกฝ่าย ในการขอดูข้อมูลในแต่ละครั้งต้องติดต่อกับฝ่ายนั้น ๆ โดยตรงซึ่งต้องใช้เวลา
  30. การลงเวลาในการปฏิบัติงาน หากผู้จัดการแต่ละฝ่ายลืมลงเวลาให้กับพนักงาน อาจทำให้พนักงานขาดผลประโยชน์ที่ควรจะได้รับ
  31. ในบางกรณีที่ลูกค้าต้องการสินค้าเพิ่มกะทันหันและในคลังสินค้ามีสินค้าไม่เพียงพอ เราจึงต้องเร่งการผลิตสินค้า ซึ่งหากไม่ทราบล่วงหน้าอาจทำให้พนักงานมาทำงานไม่ครบ