วิเคราะห์ระบบขั้นตอนที่7

ขั้นตอนที่7
การซ่อมบำรุงระบบ
(System Maintenance)




 ขั้นตอนการซ่อมบำรุงระบบ (System Maintenance)

       เป็นขั้นตอนเพื่อการดูแลระบบเมื่อมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น และต้องทำการแก้ไขข้อผิดพลาด
นั้น รวมทั้งเป็นขั้นตอนเพื่อการปรับปรุงดัดแปลงหรือแก้ไขทั้งโปรแกรม นอกจากนี้ยังปรับปรุง
ให้ทำงานตามความต้องการของผู้ใช้ที่เพิ่มขึ้นอยู่เสมอ เช่น รูปแบบการทำงานที่เปลี่ยนแปลงไป
หรือการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี กิจกรรมการซ่อมบำรุง มี 4 ขั้นตอน

1. เก็บรวบรวมคำร้องขอให้ปรับปรุงระบบ

2. วิเคราะห์ข้อมูลการร้องขอเพื่อการปรับปรุง

3. ออกแบบการทำงานที่ต้องงการปรับปรุง

4. ปรับปรุงระบบ


ประเภทของการซ่อมบำรุงแบ่งได้ดังนี้ 

1. Corrective Maintenance เป็นประเภทที่สำคัญที่สุด เนื่องจากซ่อมเพื่อความถูกต้อง
ของข้อมูล หรือแก้ไขข้อ ผิดพลาด มักเกิดหลังติดตั้งระบบใหม่ หรือใช้มาได้ระยะเวลาหนึ่ง

2. Adaptive Maintenance เป็นการดัดแปลงขั้นตอนการทำงาน ตามความต้องการของ
ผู้ใช้และตามเงื่อนไขของการทำงาน

3. Perfective Maintenance เป็นการเพิ่มเติมบางอย่างเข้าไปในระบบเพื่อให้ดูแปลกใหม่
หรือสามารถใช้งานให้ง่ายขึ้น

4. Preventive Maintenance เป็นการป้องกันโอกาสที่จะเกิดข้อผิดพลาดขึ้น เช่น การเพิ่ม
ความสามารถในการเก็บข้อมูล


          การซ่อมบำรุงจะเกิดต้นทุน แต่จะสูงหรือตํ่าขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น

1. จำนวนข้อผิดพลาดที่แฝงอยู่ภายในระบบ (Defects)

2. จำนวนลูกค้า(Customers)

3. คุณภาพของเอกสาร (Documentation)

4. คุณภาพของทีมงานซ่อมบำรุง (Personal)

5. เครื่องมือที่ใช้สนับสนุนการซ่อมบำรุงระบบ (Tools)

          องค์กรอาจตั้งใจที่จะซ่อมบำรุงระบบให้สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ได้นานที่สุด องค์กรจึงควรตระหนักถึงการจัดการการซ่อมบำรุง เพื่อให้ระบบสามารถทำงาน
ได้อย่างมีประสิทธิภาพแต่เกิดค่าใช้จ่ายไม่มาก การจัดการแบ่งออกได้ 3 ด้าน ดังนี้

1. บุคลากรในทีมงานซ่อมบำรุง

2. การประเมินผลประสิทธิภาพในการซ่อมบำรุง

3. การควบคุมการร้องขอให้ปรับปรุงระบบของผู้ใช้