ขั้นตอนที่6
การพัฒนาและติดตั้งระบบ
(System Implementation)
การพัฒนาและติดตั้งระบบ (System Implementation)
เป็นขั้นตอนในการนำข้อมูลเฉพาะของการออกแบบมาทำการเขียนโปรแกรมเพื่อให้เป็นไปตามคุณลักษณะ และรูปแบบต่าง ๆ ที่ได้กำหนดไว้ หลังจากเขียนโปรแกรมเรียบร้อยแล้ว นักวิเคราะห์จะต้องทำการทดสอบโปรแกรม ตรวจสอบหาข้อผิดพลาดของโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นมา และสุดท้ายคือการติดตั้งระบบไม่ว่าจะเป็นระบบใหม่หรือเป็นการพัฒนาระบบเดิมที่มีอยู่แล้ว โดยทำการติดตั้งตัวโปรแกรม ติดตั้งอุปกรณ์พร้อมทั้งจัดทำคู่มือและจัดเตรียมหลักสูตรอบรมให้แก่ผู้ใช้งานที่เกี่ยวข้อง
เริ่มจากการเขียนโปรแกรมซึ่งโปรแกรมเมอร์จะได้รับชุดเอกสารที่เกิดขึ้น ตั้งแต่ขั้นตอนแรก จนถึงขั้นตอนการออกแบบ โดยเฉพาะข้อมูลส่วนของการออกแบบที่จะช่วยให้การเขียนโปรแกรมง่ายขึ้น หลังจากนั้นจะต้องมีการทดสอบโปรแกรมเพื่อหาข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นและทำการแก้ไขในเบื้องต้น เมื่อโปรแกรมผ่านการทดสอบแล้ว กิจกรรมต่อไปคือ การติดตั้งระบบใหม่ พร้อมทั้งจัดทำคู่มือประกอบการใช้โปรแกรม จัดหลักสูตรฝึกอบรมผู้ใช้ระบบและคอยช่วยเหลือในระหว่างการทำงาน
เมื่อผ่านการขันตอนต่าง ๆ ไมว่าจะเป็นการศึกษา การวิเคราะห์และการอกแบบระบบ ซึ่ง เป็นขั้นตอนใหญ่ที่มีความสำคัญมากในการที่ระบบจะได้รับการพัฒนาเป็นระบบใหม่หรือไม่ สำหรับขั้นตอนหลังจากผ่านการวิเคราะห์และออกแบบระบบมาแล้ว คือ การติดตั้งระบบที่ได้มีการศึกษา วิเคราะห์และออกแบบเรียบร้อยแล้ว ซึ่งได้แก่การวางแผน การติดตั้งระบบใหม่ที่ได้ทำการพัฒนา มาแล้ว ซึ่งจะได้ศึกษากันในบทนี้
การวางแผนการติดตั้งระบบ
ก่อนที่นักวิเคราะห์ระบบจะนำเอาระบบงานใหม่ไปติดตั้งให้กับผู้ใช้งานนั้น นักวิเคราะห์ระบบจะต้อง จัดทำแผนงานการติดตังระบบแผนงานก่อน(Installation Plan) โดยแผนงานการติดตั้งระบบควร จะต้องครอบคลุมเนื้อสำคัญ คือ
1.ซอฟต์แวร์ที่ติดตั้ง
จะต้องทำการวางแผนให้ครอบคลุมถึงการติดตั้งซอฟต์แวร์ที่จะติดตั้งทั้งหมดที่ ต้องใช้ ไม่ใช่เฉพาะการติดตังโปรแกรมของระบบงานใหม่เท่านั้น แต่รวมถึงการติดตั้งฐานข้อมูลและ แฟ้มข้อมูลที่จำเป็นและซอฟต์แวร์อื่น ๆ ที่ต้องการใช้ร่วมกันด้วย การติดตั้งซอฟต์แวร์จึงมีระดับตั้งแต่ง่ายไปจนถึงระดับซับซ้อน เช่น ระบบสำหรับผู้ใช้คนเดียว (Single User) แบบง่ายไปจนถึงระบบที่ซับซ้อน ซึ่งจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขทั้งทางระบบที่ใช้อยู่ใน ปัจจุบันให้เชื่อมกับระบบใหม่ ไปจนถึงการติดตั้งระบบให้ใช้ได้บนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่แตกต่าง ออกไปซึ่งมีความแตกต่างกันของคุณสมบัติของเครื่อง ทำให้การวางแผนการติดตั้งระบบงานต้องการพิจารณาอย่างรอบคอบ และทำรายละเอียดที่แตกต่างกันออกไป ในส่วนของการติดตั้งซอฟต์แวร์ ซึ่งจะต้องสนใจว่าซอฟต์แวร์อะไรที่จะติดตั้งให้กับผู้ใช้และจะทำอย่างไร จึงจะทำให้การติดตั้งสำเร็จลงได้ นักวิเคราะห์ระบบจึงต้องคำนึงว่า อะไรบ้างที่จะต้องนำไป ทำการติดตั้ง และแผนงานการตั้งระบบนี้จะต้องทำให้เป็นลายลักษณ์อักษรด้วย และกระจายหน้าที่ความ รับผิดชอบให้กับทีมงาน และร่วมกันประชุมกันก่อนอีกครั้ง ก่อนที่จะนำเอาแผนงานที่ได้วางเอาไว้ทำการติดตั้งปฏิบัติจริง
2.วิธีการติดตั้ง
เพื่อให้การติดตั้งระบบเป็นไปอย่างสมบูรณ์ วิธีการติดตั้งระบบงานในที่นี้หมายถึง การเปลี่ยนระบบงานที่ใช้อยู่เดิมให้เป็นระบบงานใหม่วิธีการติดตั้งที่นิยมใช้อยู่มีอยู่ด้วยกัน 5 วิธี คือ
1. การติดตั้งแบบทันทีโดยตรง ( Direct Changeover)
2. การติดตั้งแบบขนาน (Parallel Conversation)
3. การติดตั้งแบบทยอยเข้า (Phased or Gradual Conversation)
4. การติดตั้งแบบโมดูลาร์โปรโตไทป์ (Modular Prototype)
5. การติดตังแบบกระจาย (Distributed conversation)
3.ผลกระทบที่มีต่อองค์กร
1. การติดตั้งแบบทันทีโดยตรง ( Direct Changeover)
2. การติดตั้งแบบขนาน (Parallel Conversation)
3. การติดตั้งแบบทยอยเข้า (Phased or Gradual Conversation)
4. การติดตั้งแบบโมดูลาร์โปรโตไทป์ (Modular Prototype)
5. การติดตังแบบกระจาย (Distributed conversation)
3.ผลกระทบที่มีต่อองค์กร
สิ่งสุดท้ายที่มีความสำคัญอย่างยิ่งที่นักวิเคราะห์ระบบจะต้องคำนึงถึง คือ ผลกระทบของระบบงานใหม่ที่มีต่อธุรกิจหรือองค์กร เพราะการติดตั้งระบบงานให้เข้า ไปในองค์กรย่อมก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกระบวนการทำงาน หน้าที่ความรับผิดชอบของหน่วยงานและผู้ใช้ระบบไม่มากก็น้อย จึงต้องมีการชี้แจงให้ทราบถึงบทบาทที่เปลี่ยนไปและ ผลกระทบต่าง ๆ รวมทั้งความรู้สึกสับสนในช่วงแรกของการใช้ระบบงานใหม่นั้นให้เห็นว่าเป็นเรื่อง ธรรมดา ฉะนั้นในทุกขั้นตอนของการวิเคราะห์และออกแบบระบบจึงมักดึงเอาผู้ใช้ระบบเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมอยู่ตลอดเลา และในการติดตั้งระบบ ผู้ใช้ยังคงมีส่วนร่วมซึ่งมีความสำคัญต่อ การที่ระบบงานใหม่จะเป็นที่ยอมรับของผู้ใช้ ผู้ใช้ระบบจะช่วยนักวิเคราะห์ระบบได้ในเรื่องที่เกี่ยวกับการ สร้างแฟ้มข้อมูล การบันทึกข้อมูลย้อนหลัง และตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล เป็นต้น การให้ ผู้ใช้มีส่วนร่วมนี้จะทำให้เขารู้สึกว่าเป็นเจ้าของระบบงานใหม่นี้ด้วย
การคิดต้นทนในการติดตั้งระบบ
การคิดต้นทนในการติดตั้งระบบ
การคิดต้นทุนของระบบจะกระทำในช่วงของการศึกษาระบบ ซึ่งเมื่อนักวิเคราะห์ระบบได้ทำการ ออกแบบระบบจะต้องคิดโครงสร้างในผลประโยชน์ที่จะได้รับของระบบนั้นๆ ที่ พึ่งจะมีในระยะเวลา การวิเคราะห์ระบบ จะต้องทำการกำหนดต้นทุนของทังระบบ โปรดสังเกตว่าต้นทุนจะจำกัดขอบเขต และชนิดของระบบที่จะถูกต้องติดตั้งและใช้งาน
1. การวางแผนการวิเคราะห์ต้นทุน เป็นผลลัพธ์ที่มีรากฐานอยู่บนการวิเคราะห์ต้นทุนของโอกาสในการใช้ทรัพยากรไปในจุดประสงค์หนึ่ง ๆ มากกว่าอีกจุดประสงค์หนึ่ง
2. การวางแผนการวิเคราะห์ต้นทุน เป็นสิ่งที่มีรากฐานอยู่บน Cash Flow ที่เกี่ยวกับจำนวนเงินที่ จะต้องใช้สำหรับ Project หนึ่ง ๆ และต้องใช้จำนวนเงินนั้น ๆ ต่อจากนั้นก็สามารถที่จะวางงบประมาณและจัดเตรียมจำนวนเงินไว้เพื่อใช้จ่ายเมื่อถึงกำหนดเวลา