ขั้นตอนที่ 2
การเริ่มต้นและวางแผนโครงการ
การเริ่มต้นและวางแผนโครงการ
เป้าหมาย
การนำเทคโนโลยีและระบบสารสนเทศมาใช้ในการจัดการเวลาการปฏิบัติงานให้กับพนักงานในบริษัทเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตสินค้า ทำให้สินค้ามีคุณภาพ เป็นที่พึงพอใจของผู้บริโภค ส่งผลให้บริษัทได้รับผลกำไรเพิ่มขึ้น
วัตถุประสงค์
ระบบจัดการตารางเวลาการทำงาน มีวัตถุประสงค์ของการดำเนินงานเพื่อวิเคราะห์ ออกแบบและพัฒนาให้เป็น ระบบจัดการตารางเวลาการทำงานที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้
ขอบเขตของระบบ
โครงการพัฒนาระบบจัดการตารางเวลาได้มีการจัดทำขึ้นโดยทีมงานพัฒนาสารสนเทศภายในบริษัทเอง(In-House Development) พร้อมนี้ได้กำหนดขอบเขตของระบบนี้มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. ระบบจะต้องแบ่งการทำงานอย่างชัดเจน แต่ข้อมูลสามารถเชื่อมโยงกันได้
2. ระบบจะต้องรองรับการทำงานแบบ Multi-User ได้
3. ระบบจะต้องใช้งานง่ายและสะดวก
4. ระบบมีความผิดพลาดและข้อบกพร่องน้อยที่สุด
ความต้องการในระบบใหม่
ความต้องการในระบบใหม่ที่รวบรวมมาได้ คือ
1. การทำงานที่รวดเร็วของระบบใหม่
2. สามารถเพิ่ม แก้ไข เปลี่ยนแปลงเวลาการทำงานให้เหมาะสม
3. การเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานทุกฝ่ายเช่น ฝ่ายบุคคล บัญชีและการเงิน การตลาด จัดซื้อ ผลิต ซ่อมบำรุง คลังสินค้า และจัดส่งสินค้า เป็นต้น
4. การจัดทำตารางเวลาการทำงานที่ไม่ซับซ้อนและสะดวกในการตรวจสอบ
ความต้องการในระบบใหม่ที่รวบรวมมาได้ คือ
1. การทำงานที่รวดเร็วของระบบใหม่
2. สามารถเพิ่ม แก้ไข เปลี่ยนแปลงเวลาการทำงานให้เหมาะสม
3. การเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานทุกฝ่ายเช่น ฝ่ายบุคคล บัญชีและการเงิน การตลาด จัดซื้อ ผลิต ซ่อมบำรุง คลังสินค้า และจัดส่งสินค้า เป็นต้น
4. การจัดทำตารางเวลาการทำงานที่ไม่ซับซ้อนและสะดวกในการตรวจสอบ
ประโยชน์ที่ได้รับจากระบบใหม่
1. อำนวยความสะดวกให้กับพนักงานในการเข้าปฏิบัติงาน
2. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน
3. อำนวยความสะดวกของลูกค้า
4. สินค้ามีคุณภาพมากขึ้น
5. องค์กรมีผลการดำเนินการที่ดีขึ้น
6. ลูกค้าเกิดความพึงพอใจในสินค้า และมอบความน่าเชื่อถือให้บริษัท
7. หากบริษัทมีการขยายตัว ระบบสามารถรองรับการขยายตัวนั้นได้
แนวทางในการพัฒนา
การพัฒนาระบบของ บริษัท TCP Thai Food จำกัด เป็นการพัฒนาระบบในส่วนของการจัดการตารางเวลาในการทำงานและในส่วนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเช่น การทำงานของพนักงานในแต่ละส่วนงานมีการใช้ระยะเวลาในการทำงานเท่าไหร่ ซึ่งบางครั้งการทำงานขั้นตอนต่าง ๆ อาจจะมีระยะเวลาในการทำงานที่ทับซ้อนกับงานในส่วนอื่นๆ หรือในบางครั้งมีการทำงานเกินระยะเวลาที่กำหนด ดังนั้นจึงได้มีการวิเคราะห์ระบบใหม่เพื่อความสะดวกและมีประสิทธิภาพในการทำงาน ก่อนที่เราจะมาวิเคราะห์ระบบเราจะต้องทำการจำลองหรือศึกษาขั้นตอนการทำงานของระบบใหม่และข้อมูลทั้งหมดว่า ระบบที่เราต้องการวิเคราะห์เหมาะสมกับระบบการทำงานเดิมของบริษัท
การพัฒนาระบบของ บริษัท TCP Thai Food จำกัด เป็นการพัฒนาระบบในส่วนของการจัดการตารางเวลาในการทำงานและในส่วนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเช่น การทำงานของพนักงานในแต่ละส่วนงานมีการใช้ระยะเวลาในการทำงานเท่าไหร่ ซึ่งบางครั้งการทำงานขั้นตอนต่าง ๆ อาจจะมีระยะเวลาในการทำงานที่ทับซ้อนกับงานในส่วนอื่นๆ หรือในบางครั้งมีการทำงานเกินระยะเวลาที่กำหนด ดังนั้นจึงได้มีการวิเคราะห์ระบบใหม่เพื่อความสะดวกและมีประสิทธิภาพในการทำงาน ก่อนที่เราจะมาวิเคราะห์ระบบเราจะต้องทำการจำลองหรือศึกษาขั้นตอนการทำงานของระบบใหม่และข้อมูลทั้งหมดว่า ระบบที่เราต้องการวิเคราะห์เหมาะสมกับระบบการทำงานเดิมของบริษัท
แผนการดำเนินงานของโครงการ
แผนการดำเนินงานของโครงการที่ต้องการวิเคราะห์ระบบที่มีการเปลี่ยนแปลง คือ ระบบจัดการตารางเวลา และส่วนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องมีดังต่อไปนี้
- ทีมงานผู้รับผิดชอบโครงการ
- ประมาณการใช้ทรัพยากร
- ประมาณการใช้งบประมาณ
- ประมาณระยะเวลาดำเนินงาน
ทีมงานผู้รับผิดชอบโครงการ
ทีมงานผู้รับผิดชอบโครงการที่ได้รับมอบหมาย อาจจะเป็นบุคคลที่มีความรู้ในด้านของระบบที่ต้องการเปลี่ยนแปลงที่ทำงานอยู่ในบริษัทหรือทางบริษัทจ้างให้ทำการวิเคราะห์ระบบ ซึ่งบุคคลจะต้องดำรงตำแหน่งเกี่ยวกับการดูแลระบบ เช่น
1. นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ เป็นบุคคลที่มีความรู้ความสามารถในเรื่องการทำงานของระบบสาร
สนเทศที่จะนำมาใช้ หน้าที่ ตลอดจนเก็บรวบรวมข้อมูลและติดต่อประสานงานกับผู้ใช้ระบบ พนักงาน หรือทีมโปรแกรมเมอร์ และการจัดทำเอกสารเอกสารอื่น ๆ
2. โปรแกรมเมอร์ เป็นเจ้าหน้าที่ที่มีความรู้ทางด้านการเขียนโปรแกรมทางคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่ในการเขียนโปรแกรมและติดตั้ง รวมทั้งทอสอบโปรแกรมของระบบใหม่
ประมาณการใช้แหล่งทรัพยากร
จากข้อมูลดังกล่าวเราจะมีการทำงานเป็นทีมซึ่งจะมีการระบุหน้าที่ของแต่ละฝ่าย เพื่อที่งานจะประสบผลสำเร็จ ปัจจุบันทางบริษัทได้มีการใช้ระบบเครือข่าย LAN อยู่แล้วหรือเครือข่ายที่มีความเร็วสูงกว่านี้ มีรายละเอียดพอเข้าใจดังนี้
1. เครื่องแม่ข่าย(Server) จำนวน 3 เครื่อง
2. เครื่องลูกข่าย(Workstation) จำนวน 50 เครื่อง
3. เครื่องพิมพ์(Printer) จำนวน 8 เครื่อง
ปัจจุบันทางบริษัทได้นำเทคโนโลยีหลายอย่างมาใช้ในการบริหารงาน ซึ่งปัจจุบันมีรายละเอียดดังนี้
1. ระบบโปรแกรม 1 ระบบ
2. เครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายและลูกข่ายตามจำนวนที่บริษัทต้องการ
3. บุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในการทำงานของโปรแกรม
4. อุปกรณ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาระบบ
สรุปงบประมาณที่ใช้พอสรุปได้ดังนี้
1. ในส่วนของผู้บริหาร
ค่าตอบแทนสำหรับทีมงานพัฒนา
- นักวิเคราะห์และออกแบบระบบโปรแกรมเมอร์ 73000
2. แผนกทุกแผนกที่มีการเปลี่ยนแปลงระบบ
- ค่าการฝึกอบรมพนักงานใหม่เกี่ยวกับระบบใหม่ 30000
3. การจัดซื้ออุปกรณ์ต่าง ๆ
- เครื่องคอมพิวเตอร์และโปรแกรมที่ใช้ในการลงระบบ 37000
- อื่น ๆ 6000
ประมาณการใช้งบประมาณ
จากรายการดังกล่าวเป็นเพียงการประมาณค่าใช้จ่ายคร่าว ๆ ที่ทางองค์กรจ่ายในการปรับปรุงระบบ ซึ่งอาจจะมีค่าใช้จ่ายมากกว่านี้ที่ใช้เพราะในแต่ละองค์กรจะมีหลายแผนกในการทำงานและงานในแต่ละระบบจะมีขั้นตอนที่ซับซ้อนมาก ดังนั้นค่าใช้จ่ายจึงไม่เท่ากัน
ประมาณการระยะเวลาดำเนินงาน
ระยะเวลาในการดำเนินงานการวิเคราะห์ระบบของบริษัท J.S.R. ผลไม้กระป๋องจำกัด ที่ต้องการนำระบบมาใช้ในการทำงานในส่วนของระบบจัดการตารางเวลาเพื่อความสะดวกในส่วนของการทำงานภายในบริษัท ซึ่งก่อนที่จะได้เริ่มทำงานนั้นเราจะต้องใช้ระยะเวลาในการศึกษาถึงขั้นตอนต่าง ๆ เป็นระยะเวลาประมาณ 5 เดือน คือเริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน ถึง ตุลาคม 2554 ซึ่งสามารถแสดงรายละเอียดการดำเนินงานได้ดังนี้
(คลิกที่รูปเพื่อดูรูปใหญ่)
ระยะเวลาตามจริงในการพัฒนาระบบอาจใช้เวลามากกว่านี้ แต่เพื่อเป็นการสรุปอย่างคร่าว ๆ ว่าเราได้ดำเนินการอะไรไปบ้างและระบบใหม่ที่ได้จะเสร็จภายในกี่วัน ซึ่งเราก็ได้ยกตัวอย่างไปแล้ว
รายงานสรุปผลสำหรับผู้บริหาร
จากการศึกษาปัญหาที่พบจากระบบเดิมของบริษัท J.S.R. ผลไม้กระป๋องจำกัดในการทำงานบางหน้าที่บริษัทจะมีการนำเทคโนโลยีมาใช้แล้วบางส่วนแต่บางระบบก็ยังไม่มีการนำมาใช้และก็ยังต้องการใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ดังนั้นทางบริษัทจึงต้องมีการจัดทำระบบใหม่ขึ้น เมื่อเราทำการวิเคราะห์ระบบแล้วขั้นตอนต่าง ๆ ที่เราได้ทำก็จะจัดทำรายงานสรุปผลสำหรับผู้บริหารเพื่อให้ทราบขั้นตอนต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการวิเคราะห์ซึ่งจะมีขั้นตอนประกอบย่อย ๆเพื่อความเข้าใจง่าย 2 ด้านดังนี้
1. ความเป็นไปได้ทางด้านเทคนิค
สำหรับด้านเทคนิคในที่นี้เกี่ยวกับ ฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ขอระบบเดิมว่ามีการใช้ส่วนใดบ้าง เช่น โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อใช้งานในด้านต่าง ๆ และอุปกรณ์อื่น ๆ
2. ความเป็นไปได้ทางด้านการปฏิบัติงาน
ศึกษาเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของผู้ใช้ของระบบใหม่ที่จะนำมาใช้กับบริษัท ซึ่งขั้นตอนนี้จะเกี่ยวกับการทดสอบ การทดลองของระบบว่าระบบใหม่นี้มีผลต่อการทำงานของบริษัทอย่างไร
จากการทำงานของนักวิเคราะห์ระบบผลที่ได้ประสบผลสำเร็จระบบที่ได้เป็นที่ตรงตามความต้องการของบริษัท